ประวัติอำเภอชุมแพ และ สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัด ขอนแก่น

วันที่ : 11/10/2009   จำนวนผู้ชม : 101

สมัยก่อนประวัติสาสตร์
            หลักฐานการสำรวจบริเวณบ้านโนนนกทา บ้านนาดี ต.บ้านโคก อ.ภูเวียง ของวิลเฮล์มจิโซลไฮม์ เรื่องเออร์ลี่บรอนซ์ อิน นอร์ธอีสเทิร์น ไทยแลนด์ ได้ค้นพบเครื่องสำริดและเหล็ก มีเครื่องมือเครื่องใช้เป็นขวาน รวมทั้งแบบแม่พิมพ์ที่ใช้หล่อ มีกำไลแขนสำริดคล้องอยู่ที่โครงกระดูกท่อนแขนซ้อนกันหลายวง พบกำไรทำด้วยเปลือกหอย รวมทั้งพบแหวนเหล็กไน แสดงว่ามีการปั่นด้ายทอผ้าใช้ในยุคนั้นแล้ว
 
              นอกจากนี้ยังพบขวานทองแดง อายุ 4,600-4,800 ปี เป็นหัวขวานหัวเดียวที่พบในประเทศไทยที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในเอเซียอาคเนย์ อายุประมาณ 4,275 ปี จากหลักฐานข้างต้นพิสูจน์ให้เห็นว่า   อาณาเขตบริเวณจังหวัดขอนแก่นเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรม วัฒนธรรมอันสูงสุดมาแต่ดึกดำบรรพ์ มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อนสมัยพุทธกาลหลายพันปี
 
สมัยประวัติศาสตร์
 
             ประวัติการสร้างเมืองขอนแก่น เริ่มขึ้นในราชการพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ในราว พ.ศ. 2340 เพี้ยเมืองแพน เชื้อสายเจ้าเมืองร้อยเอ็ดและสุวรรณภูมิ ได้พาผู้คนอพยพออกมาจากบ้านชีโหล่น (ในเขตอำเภออาจสามารถจังหวัดร้อยเอ็ดปัจจุบัน) มาตั้งบ้านบึงบอนและได้แจ้งความประสงค์ไปยังเจ้าพระยานครราชสีมา ขอเป็นเจ้าเมือง เมื่อเป็นเจ้าเมืองแล้วก็ขอขึ้นกับเมืองนครราชสีมารับอาสาจะทำราชการผูกส่วยตามประเพณี เจ้าพระยานครราชสีมาจึงกราบทูลพระกรุณาไปยังกรุงเทพฯ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าตั้งเพี้ยงเมืองแพนเป็น "พระนครศรีบริรักษ์" ดำรงตำแหน่งเจ้าเมือง โดยยกบ้านบึงบอน (บริเวณริมบึงแก่นนคร) เป็นเมืองขอนแก่น
 
               ต่อมา ในปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 1 ในราว พ.ศ. 2352 เนื่องจากที่ตั้งเมืองขอนแก่นอยู่ใกล้ชิดเมืองชลบถ (ชนบท) ซึ่งขึ้นกับเมืองนครราชสีมา และมีการปักปันเขตเมืองกัน จึงได้ย้ายเมืองไปตั้งที่บ้านดอนพันชาติ (อำเภอโกสุมพิสัยจังหวัดมหาสารคามในปัจจุบัน) และ พ.ศ. 2369 เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์   เวียงจันทร์ขึ้น เมื่อปราบกบฏเรียบร้อยแล้ว โปรดเกล้ายกบ้านภูเวียง ซึ่งเดิมเคยเป็นเมืองโบราณอยู่ก่อนแล้ว เป็นเมืองภูเวียงขึ้นกับเมืองขอนแก่น
 
                ในสมัยรัชกาลที่ 3 พ.ศ. 2381 เมืองขอนแก่นได้ถูกย้ายจากบ้านดอนพันชาติกลับมาตั้งที่ริมบึงบอนทางด้านทิศตะวันตก
 
                ในสมัยรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2398 ย้ายเมืองขอนแก่นไปตั้งที่บ้านโนนทองฟากบึงบอนทางทิศตะวันออก จนถึง พ.ศ. 2410 ได้ย้ายเมืองอีกครั้งไปตั้งอยู่ที่บ้านดอนบม ด้วยเหตุผลทางด้านการคมนาคม เนื่องจากต้องใช้แม่น้ำในการคมนาคมติดต่อ
 
                ในสมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2435 ได้โปรดเกล้าให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมขึ้นไปเป็นข้าหลวงต่างพระองค์ประจำหัวเมืองลาวพวนซึ่งมีเมืองขอนแก่นขึ้นอยู่ด้วย เนื่องจากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนแปลงระบบการปกครองหัวเมืองลาวใหม่ โดยเปลี่ยนบริเวณหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือเป็นเมืองลาวพวน ในครั้งนี้ได้ย้ายเมืองขอนแก่นจากบ้านดอนบมไปตั้งที่บ้านทุ่ม และเปลี่ยนนามตำแหน่งเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมือง
 
                 ต่อมาในปี พ.ศ. 2437 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แบ่งการปกครองออกเป็นมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน จังหวัดขอนแก่นได้โอนไปขึ้นกับมณฑลอุดร ต่อมาปี พ.ศ. 2442 เนื่องจากบ้านทุ่มในฤดูแล้งกันดารน้ำ ไม่เหมาะแก่การตั้งเมืองใหญ่ จึงโปรดฯ ให้ย้ายเมืองจากบ้านทุ่มกลับไปตั้งที่บ้านเมืองเก่า บริเวณบึงบอนด้านเหนือ
 
                  ปี พ.ศ. 2459 โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเมืองมาเป็นจังหวัด และให้เรียกเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด จนเมื่อเปลี่ยนการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้ว ได้เปลี่ยนนามผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นข้าหลวงประจำจังหวัดอีกครั้งหนึ่ง และในตอนหลังปี พ.ศ. 2495 ทางราชการได้ประกาศให้เปลี่ยนกลับเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด และยังคงใช้ตำแหน่งนี้จนกระทั่งปัจจุบัน
 
แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ อุทยาน วนอุทยาน
บางแสน 2
         ตั้งอยู่ที่บ้านหินเพิง ตำบลท่าเรือ อยู่ห่างจากอำเภอเมืองไปประมาณ 53 กิโลเมตร ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปเขื่อนอุบลรัตน์ แต่อยู่ก่อนถึงเขื่อนอุบลรัตน์มีทางทางแยกไป บรรยากาศโดยรอบของชายหาดริมทะเลสาบน้ำจืดเหนือเขื่อนอุบลรัตน์ สวยสะดุดตาเมื่อพระอาทิตย์ฉายส่องลงมาในยามเย็นกระทบกับทิวเขาภูเก้าที่ตั้งตระหง่านอยู่ด้านหลัง กิจกรรมกีฬาทางน้ำที่น่าสนใจก็คือ การบริการให้เช่าจักรยานน้ำ, บานาน่า โบ๊ต, ห่วงยาง นอกจากนี้ยังมีบริการอาหารเลิศรสที่ปรุงจากปลาภายในอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ ได้แก่ ปลานิล, ปลาเนื้ออ่อน, ปลาช่อน ฯลฯ ช่วงเทศกาลสำคัญ หรือ วันหยุด มักจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปชมธรรมชาติ และเล่นน้ำกันเป็นจำนวนมาก
พัทยา 2
         ตั้งอยู่ที่บ้านหนองกุงเซิน ห่างจากอำเภอเมืองไปประมาณ 78 กิโลเมตร เป็นทะเลสาบขนาดประมาณ 20 ไร่ มักจะมีผู้คนท้องถิ่นมาพักผ่อนหย่อนใจ เพราะนอกจากจะมีทัศนียภาพที่งดงามโดยมีเทือกเขาภูพานคำตั้งตระหง่านอยู่ด้านหลังแล้ว ยังได้นั่งรับประทานปลาน้ำจืดนานาชนิด (ที่หาได้จากทะเลสาบนี้เอง)บรรยากาศที่เย็นสบาย นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมทางน้ำให้เลือกเล่นมากมายเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวที่มาพักผ่อน
อุทยานแห่งชาติน้ำพอง
        ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดขอนแก่น มีเนื้อที่ประมาณ 200 ตารางกิโลเมตร สภาพพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติน้ำพอง ส่วนใหญ่จะเป็นภูเขา ถือเป็นแหล่งต้นน้ำของลำน้ำชีและลำน้ำพอง สำหรับนักท่องเที่ยวทางอุทยานฯ มีบ้านพักรับรอง และสิ่งอำนวยความสะดวกไว้บริการอย่างครบครัน
อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
        ครอบคลุมพื้นที่ป่าภูเก้า อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู และป่าภูพานคำ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น มีพื้นที่ 322 ตารางกิโลเมตร สภาพื้นที่ปกคลุมด้วยป่าเต็งรังมีทิวทัศน์สวยงาม เหมาะแก่การเดินป่าและศึกษาร่องรอยก่อนประวัติศาสตร์ของชุมชนมนุษย์ในสมัยบ้านเชียง
อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน
         อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน เรียกตามชื่อของภูเขาเทือกหนึ่งทางตอนใต้ของอุทยานแห่งชาติที่มีหน้าผาสูงชันคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มองดูเหมือนกับผ้าม่านผืนใหญ่ อยู่ในท้องที่อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น และอำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย มีเนื้อที่ประมาณ 350 ตารางกิโลเมตร หรือ 218,750 ไร่ แต่เดิมเคยเป็นพื้นที่ที่สมบูรณ์ไปด้วยพรรณไม้และสัตว์ป่านานาชนิด ปัจจุบันผลจากการทำสัมปทานป่าไม้ทำให้พื้นป่าและจำนวนสัตว์ป่าลดลงอย่างรวดเร็ว กรมป่าไม้จึงได้มีคำสั่งที่ 1473/2532 ลงวันที่ 27 กันยายน 2532 มอบหมายให้ นายพนม พงษ์สุวรรณ นักวิชาการป่าไม้ 4 ให้สำรวจเพิ่มเติมและจัดตั้งพื้นที่ป่าดงลาน อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น และป่าภูเปือย อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย และพื้นที่ป่าใกล้เคียงเป็นอุทยานแห่งชาติ จากการสำรวจพื้นที่พบว่า เป็นพื้นที่แหล่งต้นน้ำลำธารและมีจุดเด่นทางธรรมชาติหลายแห่ง โดยเฉพาะถ้ำและน้ำตก
อุทยานแห่งชาติภูเวียง
         คำว่า “ภูเวียง” เป็นท้องที่อำเภอที่เก่าแก่ของจังหวัดขอนแก่นอำเภอหนึ่ง และยังเป็นชื่อเรียกของเทือกเขามีหลักฐานว่าป่าภูเวียงเคยเป็นแหล่งชุมชนโบราณที่มีอารยธรรมเมื่อหลายพันปีล่วงมาแล้ว มีการขุดพบกระดูกมนุษย์โบราณ เครื่องมือ เครื่องใช้ โลหะสำริด พระนอนสมัยทวาราวดี รวมทั้งภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ถ้ำ (หลืบเงิน) บนเทือกเขาภูเวียง นอกจากนั้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2519 มีการค้นพบรอยเท้าและซากกระดูกไดโนเสาร์ และสัตว์โลกดึกดำบรรพ์อายุเกือบ 200 ล้านปี ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระทัยและเสด็จทอดพระเนตร เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2532 มีเนื้อที่ประมาณ 325 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 203,125 ไร่
น้ำตกตาดฟ้า
         เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำห้วยตาดฟ้า รอยต่อของอำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น กับอำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ ความสูงราว 30 เมตร ในฤดูฝน้ำจะไหลแรง มีสายน้ำที่ตกลดหลั่นเป็นม่านที่งดงาม ปัจจุบันการเดินทางสะดวกมีทางรถยนต์เข้าถึงแล้ว
ถ้ำค้างคาวภูผาม่าน
         เป็นถ้ำขนาดใหญอยู่ภายในอุทยานแห่งชาติภูผาม่านภายในถ้ำมีค้างคาวปากย่นอาศัยอยู่หลายล้านตัว ในช่วงเย็นย่ำของทุกวัน ค้างคาวจะบินออกจากถ้ำไปหากินเป็นริ้วขบวนยาวนับสิบกิโลเมตร
        นักท่องเที่ยวสามารถชมความาหัศจรรย์ น่าตื่นตาของฝูงค้างคาวนับล้านๆ ตัวได้ที่นี่แห่งเดียวเท่านั้น
ถ้ำพญานาคราช
        เป็นถ้ำที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ ในเขตอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน ตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอชุมแพ ภายในถ้ำมีพื้นที่กว้างขวาง แป่งออกเป็นห้องๆ แต่ละห้องจะมีหินงอกหินย้อยเป็นช่อขึ้นต่อกันเป็นเสาต้นใหญ่ เมื่อกระทบแสงไฟจะเกิดประกายระยิบระยับสวยงาม
ถ้ำภูตาหลอ
        ตั้งอยุ่ที่บ้านวังสวาบ ตำบลวังสวาบ อำเภอภูผาม่าน เป็นถ้ำที่อยู่บนเนิน ภายในถ้ำอากาศเย็นสบาย ไม่มีค้างคาวและกลิ่นอับชื้น มีห้องโถงขนาดใหญ่ พื้นถ้ำเป็นดินเรียบ มีหินงอกหินนย้อยอยู่ในสภาพสมบูรณ์ หินบางก้อนมีลักษณะเป็นเกล็ดแวววาวคล้ายหนิเขี้ยวหนุมาน
ผานกเค้า
        เป็นภูเขาที่อยู่ตรงรอยต่อของอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น กับอำเภอภูกระดึงจังหวัดเลย ผานกเค้า เป็นหน้าผาสูงชัน ลักษณะคล้ายนกเค้าแมว บริเวณใกล้หน้าผาเป็นถนนกว้างใหญ่ ตลอดสองข้างทางมีร้านอาหารหลากหลาย คอยให้บริการแก่นักท่องเที่ยว ซึ่งในแต่ละวันจะมีรถนำนักท่องเที่ยวแวะมารับประทานอาหารกันเนืองแน่น
ถ้ำลายมือ
        อยู่ที่บ้านดอนกอก อำเภอหนองเรือ กรมศิลปากรสำรวจในปี พ.ศ.2526 มีลักษณะเป็นเพิงหิน มีทางขึ้นที่สูงชัน ภาพเขียนเป็นลานเส้นสีแดง และภาพลายมือใช้สีแดงพ่นทับฝ่ามือลงบนหน้าผา กับภาพฝ่ามือสีแดงวางทับลงบนผนังหิน มีลักษณะใกล้เคียงกันกับถ้ำฝ่ามือแดง บ้านหินร่อง กิ่งอำเภอเวียงเก่า
 
เทศกาลและงานประจำปี
 เทศกาลและงานประจำปี
 รายละเอียด
เทศกาลดอกคูณเสียงแคนสุดยอดสงกรานต์อีสานและถนนข้าวเหนียว
จังหวัดขอนแก่นได้จัดกิจกรรมเทศกาลสงกรานต์ในเดือนเมษายนเป็นประเพณีทุกปี มาตั้งแต่ปี 2531 การจัดงานดังกล่าวได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตามลำดับจนปัจจุบันได้ชื่อว่า "งานเทศกาลดอกคูนเสียงแคนสุดยอดสงกรานต์อีสานและถนนข้าวเหนียว"วัตถุประสงค์ของการจัดงานดังกล่าวเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมการละเล่นสงกรานต์แบบปีใหม่ไทยปลูกฝังพฤติกรรมและค่านิยมที่ดีของเยาวชนต่อครอบครัวและสังคมและที่เป็นจุดเด่นสำคัญของงานคือเป็นงานที่สนุกได้โดยไร้แอลกอฮอล์ซึ่งถือเป็นจังหวัดต้นแบบด้านการส่งเสริมสุขภาพและแก้ไขปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนกิจกรรมในงานประกอบด้วย พิธีทำบุญตักบาตร การละเล่นกีฬา ประกวดอาหารพื้นบ้านจัดแสดงคนตรี และการประกวดธิดาดอกคูน เป็นต้น
เทศกาลไหว้พระธาตุขามแก่น
ในวันเพ็ญเดือนหกจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในวันเพ็ญเดือนหก (วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6) ณ วัดเจติยภูมิเป็นงานเฉลิมฉลองพระธาตุเพื่อให้ประชาชนได้สักการะพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองในงานมีการแสดงศิลปะพื้นบ้าน และการออกร้านจำหน่ายสินค้าต่างๆ
งานเทศกาลไหมและประเพณีผูกเสี่ยวและงานกาชาด
งานเทศกาลไหมประเพณีผูกเสี่ยวและงานกาชาดจังหวัดขอนแก่นหรือที่นิยมเรียกกันว่า "งานไหม" หรือ "งานเทศกาลไหม" จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2522 โดยได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์จนเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ประเพณีผูกเสี่ยวเป็นประเพณีดั้งเดิมของคนกลุ่มวัฒนธรรมไทยลาว หรือชาวอีสานมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบันคำว่า "เสี่ยว" ในความหมายของชาวอีสาน หมายถึงเพื่อนรัก เพื่อนตายเพื่อนร่วมชะตาชีวิต ร่วมทุกข์ร่วมสุข ถือเสมือนมีชีวิตเดียวกันคู่เสี่ยวจะติดต่อไปมาหาสู่และช่วยเหลือเกื้อกูลกันอยู่ตลอดเวลาคนที่จะเป็นคู่เสี่ยวจะต้องเป็นชายกับชาย หญิงกับหญิง ซึ่งสนิทสนมกันรสนิยมคล้ายกัน เกิดปีเดียวกัน มีบุคลิกคล้ายกันพ่อแม่เห็นว่าเด็กรักกันก็จะนำมาผูกแขนต่อหน้าผู้ใหญ่ อบรมให้รักกันแล้วทั้งสองคนก็ได้ชื่อว่าเป็นเสี่ยวกันไปจนชีวิตจะหาไม่งานเทศกาลไหมประเพณีผูกเสี่ยวและงานกาชาดจังหวัดขอนแก่น จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี ณ บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดขอนแก่นวัตถุประสงค์ของการจัดงาน คือ ให้ประชาชนเข้าใจความหมายของคำว่าเสี่ยวอย่างถูกต้องฟื้นฟูอนุรักษ์ประเพณีอันดีงามไว้ให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมส่งเสริมให้คนในชาติตระหนักถึงความเป็นมิตรกันและนำค่าแห่งมิตรภาพนั้นไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในด้านความร่วมมือพัฒนาประเทศชาติและขยายผลการผูกเสี่ยวไปสู่คนในชาติให้มากขึ้นกิจกรรมในงาน ได้แก่ การจัดพิธีผูกเสี่ยว ประกวดพานบายศรีจัดขบวนแห่รถตามคำขวัญจังหวัด จัดศาลาไหมเพื่อสาธิตการทอผ้าไหมและจำหน่ายผลิตภัณฑ์การแสดงศิลปพื้นบ้าน การออกร้านกาชาด การจัดนิทรรศการของส่วนราชการและการประกวดนางงามไหม
งานศิวะราตรีปูชนียาลัย ปราสาทเปือยน้อย
อำเภอเปือยน้อยมีโบราณสถานที่สำคัญ คือปราสาทเปือยน้อยซึ่งเป็นปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคอีสานตอนบน และทุกวันเพ็ญ เดือน 5 ของทุกปี ชาวอำเภอเปือยน้อยกำหนดให้เป็นวันบวงสรวงปราสาทเพื่อเป็นการอนุรักษ์ส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม ให้คงไว้สืบไปโดยจัดงาน"ศิวะราตรีปูชนียาลัย ปราสาทเปือยน้อย" มีกิจกรรมสำคัญคือพิธีทำบุญในภาคเช้า สำหรับภาคค่ำเป็นการแสดงแสงสีเสียง ด้านศิลปวัฒนธรรม
งานประเพณีบุญกุ้มข้าวใหญ่
บุญกุ้มข้าวใหญ่ หรือบุญคูนลานเป็นประเพณีทำบุญที่ชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวแล้วจะนำมานวดที่ลานนวดข้าวก่อนนำข้าวไปเก็บในยุ้งฉาง เรียกว่า บุญคูนลานโดยเชิญญาติพี่น้องมาร่วมทำบุญเพื่อร่วมบูชาแม่โพสพโดยนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ โยงด้ายสายสิญจ์รอบกองข้าว ถวายอาหารบิณฑบาตรเลี้ยงญาติมิตร พระสงฆ์อนุโมทนาประพรมน้ำพระพุทธมนต์ผู้ร่วมพิธีตลอดจนประพรมลานข้าววัว ควาย เจ้าของนา เพื่อเป็นสิริมงคล จังหวัดขอนแก่นโดยอำเภอบ้านไผ่ได้สืบสานประเพณีดังกล่าวโดยกำหนดจัดงานแห่ปราสาทข้าว หรือบุญกุ้มข้าวใหญ่ในเดือนมกราคมของทุกปีโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสานและอนุรักษ์เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี "ไทอีสาน" ตามฮีตสิบสองคองสิบสี่ เผยแพร่กิจกรรมตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง และโครงการสินค้าชุมชน เสริมสร้างความสมานฉันท์ของประชาชนและกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่กิจกรรมสำคัญ คือให้ชาวบ้านนำข้าวเปลือกมารวมกันไว้ที่ลานชั่วคราวบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอบ้านไผ่ แล้วประกอบพิธีกรรมตามประเพณีบุญกุ้มข้าวใหญ่อาทิเช่น การนำข้าวเปลือกมาโฮมบุญ การสู่ขวัญข้าวขวัญน้ำ การถวายทานข้าวจัดขบวนแห่ปราสาทข้าวจากทุกตำบล จากหน่วยราชการ/ภาคเอกชนจัดนิทรรศการของหน่วยงานภาคราชการ/เอกชน จัดประกวดเรียงความเรื่อง "ข้าวของพ่อ"ประกวดแข่งขันสารภัญญะ งามตุ้มโฮมไทบ้านไผ่ ประกวดธิดาบุญกุ้มข้าวใหญ่การแสดงศิลปวัฒนธรรมประเพณีอิสานตามฮีตสิบสองคองสิบสี่ การแสดงแสง สี เสียงชุด"กุ้มข้าวใหญ่ ไอศวรรย์ อัศจรรย์เมืองบ้านไผ่"และการแข่งขันการประกวดผลิตผลทางการเกษตรและปศุสัตว์
งานประเพณีเข้าพรรษา
เข้าพรรษาคือการที่ภิกษุผูกใจว่าจะอยู่ประจำเสนาสนะในวัดใดวัดหนึ่งตลอดเวลา 3 เดือนในฤดูฝนไม่ไปค้างแรมให้ล่วงราตรีในที่แห่งอื่นระหว่างที่ผูกใจนั้นเป็นพิธีกรรมสำหรับภิษุโดยครงซึ่งมีวินัยนิยมบรมพุทธานุญาตไว้ให้ปฏิบัติทุกรูป จะเว้นเสียมิได้ไม่ว่ากรณีใด ๆมีเรื่องราวปรากฎอยู่ในวัสสุปนายิกขันธกะพระวินัยปิฎกใจความว่าสมัยเมื่อผ่านปฐมโพธิการไปแล้วมีกุลบุตรบวชเป็นภิกษุมากขึ้นพระพุทธเจ้ายังมิได้ทรงบัญญัติให้ภิกษุจำพรรษา ถึงฤดูฝนมีน้ำขังเต็มพื้นที่ไร่นาชาวบ้านประกอบอาชีพกสิกรรม ภิกษุบางจำพวกหาพักการจาริกไม่บางพวกพากันเหยียบพืชผลชาวบ้าน และสัตว์เล็กตายเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านพากันติเตียนพระพุทธองค์ทรงทราบจึงบัญญัติให้ภิกษุอยู่จำพรรษาในฤดูฝน 3 เดือน คือวันแรม 1 ค่ำเดือน 8 หลังพุทธศาสนิกชนจะรวมกันที่ศาลาโรงธรรม จัดดอกไม้ธูปเทียน ข้าวสารผ้าอาบน้ำฝนถวายแด่พระสงฆ์ และอธิฐานเข้าพรรษา เรียกว่า ปวารณาเข้าพรรษาจังหวัดขอนแก่น ได้จัดกิจกรรมงานประเพณีเข้าพรรษาที่วัดพระธาตุพระอารามหลวงวัดหนองแวงพระอารามหลวง และวัดศรีจันทร์พระอารามหลวง เป็นประจำทุกปีและเชิญชวนพุทธศาสนิกชนร่วมทำบุญที่วัดใกล้บ้านหรือวัดที่มีจิตศรัทราการจัดงานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อรณรงค์ปลูกจิตสำนึกให้เด็กเยาวชนและประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในวันเข้าพรรษาเสริมสร้างและปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้แก่เด็กเยาชนและประชาชนได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันและเพื่อจรรโลงสังคมไทยให้เป็นสังคมดี มีคุณธรรมจริยธรรมอย่างยั่งยืนโดยใช้มิติทางศาสนา กิจกรรมในงานประกอบด้วย พิธีทำบุญตักบาตรฟังธรรมเทศนาแสดงตนเป็นพุทธมามกะ ถวายเทียนพรรษา ผ้าอาบน้ำฝนและอธิษฐานปวารณาเข้าพรรษาตลอด 3 เดือน
งานประเพณีออกพรรษา
ออกพรรษา หมายถึงการสิ้นสุดกำหนดอยู่จำพรรษาของภิกษุตามพระวินัยบัญญัติ มีพิธีเป็นสังฆกรรมกรรมพิเศษเรียกโดยภาษาวินัยพิเศษว่า ปวรณากรรมคือการทำปวารณาของสงฆ์ผู้อยู่ร่วมกันมาตลอด 3 เดือน ในวันเพ็ญเดือน 11 กิจกรรมสำคัญที่จัดเป็นประจำทุกปีในจังหวัดขอนแก่น ได้แก่ 1. การตักบาตรเทโวสืบเนื่องมาจากวันเทโวโลหณะ คือวันที่ พระพุทธเจ้าเสด็จจากเทวโลกหลังจากเสด็จไปจำพรรษาอยู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์พิภพถ้วนไตรมาสและตรัสพระอภิธรรมเทศนาโปรดพระพุทธมารดาในเทวโลกมาตลอด 3 เดือนพอออกพรรษาก็เสด็จกลับมายังมนุษย์โลกโดยเสด็จลงทางบันไดสวรรค์ที่ประตูเมืองสังกัสสนคร อันตั้งอยู่เหนือกรุงสาวถีวันเสด็จลงจากเทวโลกนั้นเรียกว่า วันเทโวโลหณะ ตรงกับวันมหาปวารณาเพ็ญเดือน 11 วันนั้นถือกันว่าเป็นวันบุญวันกุศลที่สำคัญวันหนึ่งของพุทธบริษัทโบราณเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันพระเจ้าเปิดโลก รุ่งขึ้นจากวันนั้นเป็นวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 จึงมีการทำบุญตักบาตรเทโวโลหณะกันเป็นการใหญ่เพื่อเฉลิมฉลองการเสด็จลงจากเทวโลกของพระพุทธเจ้าจังหวัดขอนแก่นโดยเทศบาลตำบลเขื่อนอุบลรัตน์ และอำเภออุบลรัตน์ได้จัดกิจกรรมตักบาตรเทโวเป็นประจำทุกปีที่วัดพระพุทธบาทภูพานคำ อำเภออุบลรัตน์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมอันดีงามของไทยบูชาคุณองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักและเห็นความสำคัญในวันออกพรรษา กิจกรรมในงานประกอบด้วยนมัสการองค์พระเจ้าใหญ่ ไหว้รอยพระพุทธบาทพระภิกษุสามเณรเดินลงมาจากยอดเขาวัดพระบาทภูพานคำตามบันได 1,049 ขั้นเพื่อรับบิณฑบาต พุทธศาสนิกชนตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งและจตุปัจจัยและขบวนแห่รถนางฟ้า เทวดา พระอินทร์ พระพรหม ไปยังวัดพระบาทภูพานคำ 2. ไต้ประทีปโคมไฟและวิถีชีวิตอีสาน ในช่วงเทศกาลออกพรรษาจังหวัดขอนแก่นโดยเทศบาลนครขอนแก่น ได้จัดงานประเพณีออกพรรษาไต้ประทีปโคมไฟและวิถีชีวิตอีสาน ระหว่างวันที่ 25-28 ตุลาคม ของทุกปี ณบริเวณบึงแก่นนคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวส่งเสริมอาชีพของประชาชนในท้องถิ่นและอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นอันดีงามของวิถีชีวิตคนอีสานกิจกรรมสำคัญในงานประกอบด้วย จัดพิธีทางศาสนาออกร้านจำหน่ายอาหารและสินค้าพื้นเมือง จัดแสดงนิทรรศการของเก่าน่าสะสม พระเครื่องประกวดและโชว์บอนไซ จัดแสดงวรรณกรรมเรื่อง"สินไซ" มหกรรมอาหารของดีเมืองขอนแก่นประกวดขบวนแห่ประทีปโคมไฟ ประกวดฮ้านประทีป ประกวดสรภัญญะ การแสดงวัฒนธรรม 5 ภาคจัดประกวดนกกรงหัวจุก การแสดงวัฒนธรรมนานาชาติ การแข่ง X-Game การประกวดกวนข้าวทิพย์ การแสดงดนตรีลูกทุ่งของโรงเรียนต่าง ๆ การแสดงคนตรีพื้นเมืองและการแสดงคอนเสิร์ตลูกทุ่งหมอลำ
 
 
 
 
 
ประวัติอำเภอชุมแพ
อำเภอชุมแพ หลักเมืองเก่าชุมแพ แลผาพระนอนล้ำค่า อารยธรรมโนนเมือง ลือเลื่องเศรษฐกิจติดตา ผานกเค้าเข้าชมถ้ำผาพวงบวงสรวงปู่หลุบ.
 
ประวัติ ประมาณปี พ.ศ. 2400 พระครูหงส์ได้ชักชวนญาติพี่น้อง 8 ครอบครัวอพยพออกจากเมืองภูเวียง ครั้งสุดท้ายได้หยุดพักเกวียนที่บ้านกุดจอกน้อย แล้วแบ่งครอบครัวออกเป็น 2 กลุ่ม
 
กลุ่มแรกเลือกตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้กุดแห่น้อย บ้านแห่ ส่วนกลุ่มที่นำโดยพระครูหงส์มีบุตร 3 คน คือ นายโฮม (ต้นตระกูลโฮมหงส์) นายโชค และนายหลอด (ต้นตระกูลหงส์ชุมแพ)
 
ได้เดินทางต่อมาและเลือกที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านร้าง มีวัดร้างและกุดแห่งหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตก วัดร้างนี้มีธาตุและต้นโพธิ์จึงตั้งชื่อว่า วัดโพธิ์ธาตุ พร้อมกับตั้งชื่อว่าบ้านกุดธาตุ
 
กุดธาตุมีน้ำลึกมาก มีจระเข้ และป่าทึบทำให้จับปลาได้ยาก ประกอบกับรอบ ๆ กุดธาตุมีกอไผ่ขึ้นหนาแน่น ชาวบ้านจึงตัดไม้ไผ่มามัดเป็นแพใช้ยืนหว่านแหแล้วตีวงล้อมเข้าหากัน นานเข้าจึงเรียกว่า "กุดชุมแพ" และ "บ้านชุมแพ"
 
ประมาณปี พ.ศ. 2470 เริ่มมีครอบครัวชาวจีนอพยพเข้ามาค้าขายในบริเวณถนนราษฎร์บำรุง ทิศเหนือของวัดโพธิ์ธาตุ การค้าได้ขยายตัวมากขึ้น
 
ปี พ.ศ. 2485 กำนันเลี้ยง ดีบุญมี ได้บริจาคที่ดินเพื่อตัดถนนราษฎร์บำรุงให้ยาวขึ้นไปทางทิศเหนือ สร้างศูนย์ราชการและโรงเรียนชุมแพ นอกจากนี้ยังได้สร้างบ้านเรือนแถวไม้ชั้นเดียวบริเวณตลาดเหนือและตลาดใต้ให้เช่าทำการค้า ต่อมา กำนันจาก 4 ตำบลของอำเภอภูเวียง
 
ได้แก่ ตำบลชุมแพ ตำบลโนนหัน ตำบลขัวเรียง และตำบลสีสุก (ศรีสุข) ได้ร่วมมือกันยื่นคำร้องต่อกระทรวงมหาดไทยขอตั้งอำเภอชุมแพ พระยาสุนทรพิพิธ (ปลัดกระทรวงมหาดไทยขณะนั้น)
 
ได้มาตรวจที่ ประกอบกับระยะนั้นอำเภอชนบทถูกไฟไหม้ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 กระทรวงมหาดไทยจึงอนุมัติให้ตั้ง อำเภอชุมแพ โดยยุบอำเภอชนบทไปเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอบ้านไผ่
วันที่ 1 ก.ค. 2486 กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับที่ 132 ลว 1 ก.ค. 2486 ยกฐานะตำบลชุมแพขึ้นเป็นอำเภอชุมแพมีตำบลในเขตปกครอง 4 ตำบล คือ ต.ชุมแพ ต.โนนหัน ต.ขัวเรียง ต.ครีสุขมี นายพิชญ พรมนารถ เป็นนายอำเภอคนแรก
 
 
อำเภอชุมแพ สถานที่ท่องเที่ยว
เมืองโบราณสมัยทวาราวดีที่อำเภอชุมแพ
เป็นการพบร่องรอยทางโบราณคดี ยุคสมัยศิลปะทวาราวดี ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดขอนแก่น
เมืองโบราณสมัยทวาราวดีแห่งนี้ตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า โนนเมือง เขตบ้านนาโพธิ์ อำเภอชุมแพ ห่างจากจังหวัดขอนแก่น ประมาณ 80 กิโลเมตร เดิมทีชาวบ้านเล่าสืบต่อกันมาว่าบริเวณเนินดินกว้างที่เรียกว่าโนนเมืองนั้น เป็นเมืองเก่าเมืองโบราณ
ลักษณะของเนินเป็นเนินดินรูปไข่ พื้นที่ประมาณ 170 ไร่ มีคูเมือง 2 ชั้น ระยะห่างกันประมาณ 200 เมตร จากการสำรวจของหน่วยศิลปากรที่ 7 พบใบเสมาหินทราย
ศิลปะทวาราวดี 3 ชิ้นตั้งอยู่ใกล้เคียงกันจะพบเศษภาชนะดินเผาชิ้นไม่ใหญ่นักกระจัดกระจาย
อยู่ทั่วไปบนเนินดิน เศษภาชนะดินเผาเหล่านี้มีทั้งชนิดเขียนสีแดงชนิดลายขูดขีดและลายเชือกทาบ
นอกจากนี้ยังค้นพบ โครงกระดูกมนุษย์ที่มีพิธีฝังศพตามประเพณีโบราณ มีธรรมเนียมการฝังเครื่องมือเครื่องใช้ลงไปพร้อมศพด้วย เช่น หม้อและภาชนะดินเผาเขียนสีและลายขูดขีด ลายเชือกทาบ กำไลสำริด กำไลกระดูกสัตว์ เปลือกหอย ลูกปัดหินสี ฯลฯ
การเดินทาง ใช้เส้นทางขอนแก่น-ชุมแพ (ทางหลวงหมายเลข 12) ผ่านตัวอำเภอชุมแพ ถึงที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีก 5 กิโลเมตร
 
วนอุทยานถ้ำผาพวง
อยู่ในเขตบ้านดงลาน ตำบลผานกเค้า อำเภอชุมแพ ห่างจากตัวเมืองตามเส้นทาง
สายขอนแก่น-ชุมแพ 123 กิโลเมตร (ทางหลวงหมายเลข 12 และ 201มีทางแยกขวามือเข้าสู่
วนอุทยานถ้ำผาพวงอีก 4 กิโลเมตร เป็นทางลูกรัง ถ้ำผาพวงเป็นถ้ำใหญ่ที่งดงาม น่าเที่ยว เมื่อไปจอดรถที่เชิงเขาต้องเดินอ้อมเชิงเขาไปอีกด้านหนึ่งเพราะปากทางเข้าสู่ถ้ำผาพวงนั้นอยู่ทาง
ด้านเหนือจากเชิงเขา มีทางไต่ขึ้นไปชมถ้ำเป็นเนินสูงขึ้นไปเรื่อยๆแล้วลาดต่ำลงเมื่อถึงปากถ้ำจะ เห็น ทัศนียภาพที่เป็นป่าเขาอยู่ลิบๆ ถ้ำผาพวงเป็นถ้ำหินปูนที่เพดานถ้ำมีลวดลายธรรมชาติ
ของหินงอกหินย้อยสวยงามมากที่เพดานถ้ำทางด้านในจะมีปล่องใหญ่ถ้าเดินลึกเข้าไปอีกจะมี
ทางวกลงสู่ที่ต่ำแล้วจะมาโผล่ทางกลางถ้ำได้อีกประกาศเป็นวนอุทยาน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2517มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 3,125 ไร่ การเดินทางไปชมวนอุทยานถ้ำผาพวงควรเตรียมตัว
สำหรับการปีนเขาอาหารห่อน้ำดื่มไปด้วย เพราะบริเวณวนอุทยานไม่มีร้านอาหาร
 


istanbul escort | sisli escort | sisli escort | sisli eskort | istanbul escort | izmir escort | kartal escort | maltepe escort | tuzla escort | umraniye escort | umraniye escort | umraniye escort | istanbul vip escort | taksim escort | taksim escort | adalar escort | aksaray escort | anadolu escort | atakoy escort | avcilar escort | avrupa escort | bagcilar escort | bahcesehir escort | bakirkoy escort | basaksehir escort | bebek escort | besiktas escort | beykoz escort | cihangir escort | capa escort | cekmekoy escort | esenler escort | istanbul escorts | elit escort | esenyurt escort | fatih escort | gaziosmanpasa escort | gebze escort | goztepe escort | gunesli escort | halkali escort | istanbul escort | istanbul escort | kusadasi escort | kadikoy escort | kagithane escort | maltepe escort | maslak escort | maslak escort | mecidiyekoy escort | mersin escort | merter escort | okmeydani escort | sancaktepe escort | sile escort | sirinevler escort | istanbul escort | sisli escort | sisli escort | topkapi escort | uskudar escort | zeytinburnu escort | antalya escort | bodrum escort | cesme escort | marmaris escort | tbilisi escort | sex shop | seks shop | sex shop | istanbul sex shop | erotik shop | fethiye sex shop | vibratör | istanbul escort | sisli escort | sisli escort | sisli eskort | istanbul escort | izmir escort | kartal escort | maltepe escort | tuzla escort | umraniye escort | umraniye escort | umraniye escort | istanbul vip escort | taksim escort | taksim escort | adalar escort | aksaray escort | anadolu escort | atakoy escort | avcilar escort | avrupa escort | bagcilar escort | bahcesehir escort | bakirkoy escort | basaksehir escort | bebek escort | besiktas escort | beykoz escort | cihangir escort | capa escort | cekmekoy escort | esenler escort | istanbul escorts | elit escort | esenyurt escort | fatih escort | gaziosmanpasa escort | gebze escort | goztepe escort | gunesli escort | halkali escort | istanbul escort | istanbul escort | kusadasi escort | kadikoy escort | kagithane escort | maltepe escort | maslak escort | maslak escort | mecidiyekoy escort | mersin escort | merter escort | okmeydani escort | sancaktepe escort | sile escort | sirinevler escort | istanbul escort | sisli escort | sisli escort | topkapi escort | uskudar escort | zeytinburnu escort | antalya escort | bodrum escort | cesme escort | marmaris escort | tbilisi escort | sex shop | seks shop | sex shop | istanbul sex shop | erotik shop | fethiye sex shop | vibratör